เครือข่ายสะเต็มศึกษาประเทศไทย ประกอบด้วย ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ ศูนย์สะเต็มศึกษาภาค และโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงวิชาการ เครือข่ายศึกษานิเทศก์ เครือข่ายครูพี่เลี้ยงวิชาการ
เครือข่ายทูตสะเต็ม ระบบ iSTEM และระบบเชิดชูเกียรติผู้มีความรู้ความสามารถด้านสะเต็ม (STEM Hall of Fame) ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานและขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้เข้าถึงโรงเรียนทั่วประเทศ
โครงสร้างเครือข่ายสะเต็มศึกษา สสวท.
เครือข่ายสะเต็มของ สสวท. เป็นเครือข่ายที่มุ่งหวังจะขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรมโดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนผ่านทางศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ (National STEM Education Center: NSEC) และศูนย์สะเต็มศึกษาภาค (Regional STEM Education Center: RSEC) ซึ่งกระจายอยู่ใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ สสวท. จะระดมการสนับสนุนจากหน่วยงานในเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่บูรณาการวิศวกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของนักเรียนไทยอย่างเป็นระบบ โครงสร้างของเครือข่ายสะเต็มศึกษา สสวท. ประกอบด้วย ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ ศูนย์สะเต็มศึกษาภาค 13 ศูนย์ และโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาที่ดำเนินงานร่วมกับศูนย์สะเต็มศึกษาภาค ศูนย์ละ 6 โรงเรียน ดังแสดงในรูป
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินงานโดยคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ ซึ่งมีผู้อำนวยการ สสวท. เป็นประธาน นอกจากนี้ มีคณะทำงาน 5 คณะซึ่งทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ คณะทำงานทั้ง 5 คณะ ประกอบด้วย (1) คณะทำงานฝ่ายเผยแพร่ความเข้าใจและแนวคิดสะเต็มศึกษา (2) คณะทำงานฝ่ายสร้างเครือข่ายการดำเนินงานสะเต็มศึกษา (3) คณะทำงานฝ่ายพัฒนาศักยภาพครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบสะเต็มศึกษา (4) คณะทำงานฝ่ายพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ (5) คณะทำงานฝ่ายสนับสนุนและติดตามผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ซึ่งจะทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาแก่ศูนย์สะเต็มศึกษาภาค และโรงเรียนเครือข่าย การสนับสนุนที่ สสวท. จะจัดส่งให้ ประกอบด้วย สื่อในการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องสะเต็มศึกษาและนิทรรศการในพื้นที่ สื่อในการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องสะเต็มศึกษาและนิทรรศการในพื้นที่ หลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด การพัฒนาวิทยากรและเครือข่ายพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนในพื้นที่ และระบบติดตามและประเมินผล
ศูนย์สะเต็มศึกษาภาค
ศูนย์สะเต็มศึกษาภาคทั้ง 13 ศูนย์ จะตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ในจังหวัดที่ได้รับเลือก โดยมีบทบาทเป็นศูนย์ข้อมูลที่เก็บแหล่งเรียนรู้ (resource center) ของ สสวท. ในการกระจายการสนับสนุนด้านวิชาการที่ สสวท. จัดให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในภูมิภาค นอกจากนี้ ศูนย์สะเต็มศึกษาภาคยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่าง สสวท. บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาในภูมิภาค หน่วยงานภาครัฐ เช่น ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน พลังงานจังหวัด และหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ บทบาทหลักของศูนย์สะเต็มศึกษาภาค ได้แก่
- เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลในเขตเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในเขตภาค
- เป็นศูนย์กลางข้อมูล สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสะเต็มในเขตภาค ประสานงาน กระจายข่าวสารระหว่าง สสวท. และจังหวัด
- เป็นศูนย์ประสานงานทูตสะเต็มและหน่วยงานความร่วมมือในเขตภาค
หลักแนวทางในการบริหารจัดการศูนย์สะเต็มศึกษาภาค
1. ศูนย์สะเต็มศึกษาภาคบริหารจัดการโดยคณะอนุกรรมการบริหารเครือข่ายในระดับอนุภูมิภาค
2. หน้าที่ในการบริหารเครือข่ายของคณะอนุกรรมการบริหารเครือข่าย ประกอบด้วย
1) พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอน STEM ภายในศูนย์และโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา
2) สร้างเครือข่าย จัดกิจกรรม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ของแต่ละเครือข่ายรวมถึงจัดพี่เลี้ยงทางวิชาการสำหรับการขยายการเรียนการสอนไปยังสถานศึกษาในภูมิภาคที่เครือข่ายเป็นผู้ดูแล
3) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
4) เสนองบประมาณและบริหารงบประมาณ โดยมีบทบาท และหน้าที่ในการบริหารเครือข่ายของคณะอนุกรรมการบริหารเครือข่ายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในระดับเครือข่าย
5) จัดให้มีบุคลากรทำงานประจำสำนักงานในศูนย์สะเต็มศึกษาภาค โดยเป็นบุคลากรที่ทำงานเต็มเวลาจำนวน 1 คน เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
5.1) ประสานการทำงานระดับเครือข่ายในภูมิภาค โดยประสานการทำงานร่วมกับผู้บริหารและครูในศูนย์ ผู้เชี่ยวชาญภายนอก
5.2) ช่วยดำเนินงานธุรการสำนักงาน เพื่อสนับสนุนงานเชิงบริหารและจัดการ โดยสามารถทำงานประสานระหว่างธุรการของโรงเรียน
5.3) จัดทำสารบรรณประจำศูนย์ และสามาถทำงานบริการและการต้อนรับได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ งบประมาณในการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานดังกล่าวจะรวมอยู่ในเงินงบประมาณที่ สสวท. จะสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์สะเต็มศึกษาภาค
Key Performance Indicator (KPI) ของศูนย์สะเต็มศึกษาภาค
มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารเครือข่ายในระดับอนุภูมิภาคขึ้นภายในปี 2557 และจัดประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเครือข่ายในระดับอนุภูมิภาคและหน่วยงานเครือข่าย
มีการประสานงานด้านเครือข่ายกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงทูตสะเต็มในภูมิภาคที่ศูนย์รับผิดชอบเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาแก่นักเรียนของโรงเรียนเครือข่ายนพื้นที่
จัดให้มีบุคลากรทำงานประจำสำนักงานในศูนย์สะเต็มศึกษาภาค โดยเป็นบุคลากรที่ทำงานเต็มเวลาจำนวน 1 คนเพื่อทำหน้าที่ประสานงานเครือข่ายและบริหารจัดการ
มีการให้บริการวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีตามแนวทางสะเต็มศึกษาแก่โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา สสวท. ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ และโรงเรียน ในจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ
ดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเครือข่าย มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง สสวท. และทูตสะเต็มเข้าเยี่ยมโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ พร้อมทั้งทำบันทึกสรุปผลการปฏิบัติงานตามแบบฟอร์มที่ สสวท. กำหนด
มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักและรณรงค์การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีตามแนวทางสะเต็มศึกษา เช่น การจัดค่ายสะเต็มให้แก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา สสวท. การจัดนิทรรศการหรือประชุมวิชาการเพื่อเสนอผลงานในระดับภูมิภาคที่ศูนย์ฯ รับผิดชอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
มีการดำเนินงานเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของสะเต็มศึกษาให้แก่สาธารณชนในจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ โดย สสวท. จะเป็นผู้สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ใน การประชาสัมพันธ์ให้แก่ศูนย์
มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีโดยบูรณาการวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาอย่างน้อย 1 ผลงาน
จัดให้ครูในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สาระการเรียนรู้ละ 2 คน เข้าอบรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้และความสามารถใน การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 2 ของการเป็นโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา โรงเรียนต้องสามารถจัดให้โรงเรียนในภูมิภาคเดียวกันเข้าศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนปีละ 1 ฉบับ
โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา สสวท.
โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดที่ตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาภาค โดย สสวท. ร่วมกับสำนักเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกโรงเรียนดังกล่าวเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนยีที่บูรณาการวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ทั้งนี้ ในแต่ละเขตที่ตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาภาค สสวท. ได้คัดเลือกโรงเรียนจำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 2 โรงเรียน โรงเรียนขยายโอกาสจำนวน 2 โรงเรียน และโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 2 โรงเรียนเป็นโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ดังนั้น ในทั่วประเทศจะมีโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษารวมทั้งสิ้น 78 โรงเรียน
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา
โรงเรียนระดับประถมศึกษาหรือโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ของจังหวัดที่ตั้งของศูนย์สะเต็มศึกษาภาค หรือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาของจังหวัดที่ตั้งของศูนย์สะเต็มศึกษาภาค
ผู้บริหารมีความยินดีเข้าร่วมโครงการและปฏิบัติตามเงื่อนไขของ สสวท.
เงื่อนไขในการดำเนินงานของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา
สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีโดยบูรณาการวิศวกรรมตามแนวทาง สะเต็มศึกษาในโรงเรียนได้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
สามารถจัดให้ครูในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนร็ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ยินยอมให้มีการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ และให้นักวิชาการ สสวท. ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าสังเกตการณ์ชั้นเรียนได้
ยินยอมให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าเยี่ยมโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ โดยให้ความช่วยเหลือแนะนำด้านวิชาการและการจัดการเรียนการสอนแก่ครูในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ได้รับผิดชอบ
ยินยอมให้คณะทำงานฝ่ายสนับสนุนและติดตามผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล และสามารถจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดตามและประเมินผลตามที่ สสวท. ร้องขอ
ยินยอมให้หน่วยงานเครือข่ายและบุคลากรในเครือข่ายเข้าสังเกตการณ์และร่วมจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนทั้งในรูปขอกิจกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี
Key Performance Indicator (KPI) ของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา
มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีโดยบูรณาการวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาอย่างน้อย 1 ผลงาน
จัดให้ครูในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาระการเรียนรู้ละ 2 คน เข้าอบรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 2 ของการเป็นโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา โรงเรียนต้องสามารถจัดให้โรงเรียนในภูมิภาคเดียวกันเข้าศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนปีละ 1 ฉบับ
ทูตสะเต็ม
ทูตสะเต็ม คือ ผู้เชี่ยวชาญที่ ประกอบอาชีพในสายสะเต็ม (วิทยาศาสตร เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตรและคณิตศาสตร) เช่น แพทย เภสัชกร วิศวกร สถาปนิก นักวิทยาศาสตร ฯลฯ ที่สามารถทำงานอาสาสมัครเพื่อ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนไทย อยากประกอบอาชีพในสายสะเต็ม
ทูตสะเต็มทำอะไร?
- สร้างแรงบันดาลใจ ในการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่นักเรียน
- แนะนำครูให้สร้าง ความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ และทักษะในการคิดวิเคราะห์ เชิงวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อสร้าง ประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักเรียน